ชื่อเรื่อง : ไวรัสโรทาและไวรัสโนโร ไารัสตัวร้ายทำเกิดโรคอุจจาระร่าง และอาหารเป็นพิษ
รายละเอียด : เรื่อง ไวรัสโรทาและไวรัสโนโร ไารัสตัวร้ายทำเกิดโรคอุจจาระร่าง และอาหารเป็นพิษ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีสาระน่ารู้เกี่ยวกับไวรัสโรทาและไวรัสโนโร ๒ ไวรัสตัวร้าย ทำเกิดโรคอุจจาระร่วง และอาหารเป็นพิษ ดังนี้ โรคอุจจาระร่วง และ อาหารเป็นพิษ ยังคงเป็นโรคที่ยังคงต้องเฝ้าระวังอย่างสม่ำเสมอ อีกโรคหนึ่งในประเทศไทย โรคนี้สามารถติดต่อได้จากคนสู่คน โดยการทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส ซึ่งไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วง และอาหารเป็นพิษมีหลากหลายชนิด เช่น ไวรัสโนโร ไวรัสโรทา ไวรัสเอน เทอริคอะดิโน ไวรัสซาโป และไวรัสแอสตร เป็นต้น และจากข้อมูลของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข พบว่าในไทยไวรัสที่มีบทบาทสำคัญมากที่สุด มีอยู่ ๒ ชนิด ได้แก่ ไวรัสโนโร และ ไวรัสโรทา นั่นเอง ไวรัสโนโร (Norovirus,NOV) ประกอบด้วย ๑๐ จี๋โนกรุ๊ป คือ G - GX แต่ละจีโนกรุ๊ปยัง สามารถแบ่งได้อีกหลายจีโนทัยป๊(Genotype) และจีโนกรุ๊ปที่มักก่อให้เกิดโรคในมนุษย์ คือ Gl (จีโนกรุ๊ป ๑) และ Gแ (จี๋โนกรุ๊ป ๒ โดยเฉพาะ GI พบว่ามีอัตราการก่อโรคในคนได้สูงที่สุด อาการที่พบ ได้แก่ คลื่นไส้ รุนแรง ปวดท้องและท้องร่วง ซึ่งมีอาการอาเจียนเป็นอาการเด่น และอาการร่วมอย่างอื่นที่พบ เช่น ปวดศีรษะ มีไข้ และปวดกล้ามเนื้อ ปัจจุบันไวรัสโนโรยังไม่มีวัคนที่ใช้ในการป้องกัน ไวรัสโรทา (Rotavirus) แบ่งออกเป็น ๘ กรุ๊ป คือ A, B, C, D, E, F, G, H โดยกรุ๊ป A, B, C และ H จะก่อโรคในคน และ กรุ๊ป A เป็นไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันสูงสุด อาการ มักจะรุนแรงในเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า ๕ ปี มีอาการไข้ ปวดท้อง อาเจียน และถ่ายเหลว แต่มักจะหายได้เอง ภายใน ๓-๘ วัน ในผู้ป่วยบางรายอาจป่วยมีอาการรุนแรงจนต้องส่งโรงพยาบาล เนื่องจากมีอาการขาดน้ำ หากรักษาไม่ทันอาจทำให้เกิดภาวะช็อก และอาจเสียชีวิตได้ ในปัจจุบัน ไวรัสโรทามีวัคซีน ป้องกันไต้แล้ว โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ให้บริการตรวจ วินิจฉัยหาเชื้อในห้องปฏิบัติการ ๒ ชนิด ได้แก่ ไวรัสโรทาและไวรัสโนโร ที่เป็นตัวการทำให้เกิดโรคอุจจาระร่ว และอาหารเป็นพิษ ด้วยวิธีการดังนี้ Polyacrylamide gel electrophoresis (PAGE) วิธีนี้สามารถแยกกลุ่มไวรัสโรทาที่พบว่า เป็นกลุ่มใด จากทั้งหมด ๗ กลุ่ม Conventional RT-PCR และ Real-time RT-PCR เป็นวิธีตรวจที่รวดเร็ว โดยชนิด ตัวอย่างส่งตรวจ คือ อุจจาระ (Fresh stool เก็บใส่ภาชนะที่สะอาด และปิดให้มิตชิด นอกจากนี้ทางสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข สามารถตรวจหาเชื้อ ในตัวอย่าง ประเภทน้ำดื่ม น้ำใช้ ที่สงสัยว่าอาจเป็นแหล่งของการระบาดได้อีกด้วย สอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์ประสานงานการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธาร ณสุข โทร. ๐๒๕๘๙ ๙๘๕๐-๗ ต่อ ๙๙๒๔๘, ๙๙๖๓๔
ชื่อไฟล์ : IVLlrI0Wed114606.jpg file_download ดาว์นโหลดไฟล์นี้