messager
check_circle สถานที่สำคัญแหล่งท่องเที่ยว
ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและวัฒนธรรม ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกลาง




แก่งหอย ตำบลกลาง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี





folder วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์ “มั่นคง พอเพียง ยั่งยืน” poll
เผยแพร่วันที่ : 1 ตุลาคม 2564 | เปิดอ่าน : pageview174

insert_drive_file ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลทั่วไป
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป 1.1.ลักษณะที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลกลาง ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเดชอุดมไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 99 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 61,875 ไร่ แบ่งการปกครองออกเป็น 18 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 ถึง หมู่ที่ 18 ฯลฯ 1.2 เนื้อที่ องค์การบริหารส่วนตำบลกลาง มีเนื้อที่ประมาณ 61,875 ไร่ ประกอบไปด้วย 18 หมู่บ้าน รายละเอียดมีดังนี้ 1) หมู่ที่ 1 บ้านกลาง พื้นที่ทั้งสิ้น 3,750 ไร่ 2) หมู่ที่ 2 บ้านบก พื้นที่ทั้งสิ้น 2,450 ไร่ 3) หมู่ที่ 3 บ้านหมากมาย พื้นที่ทั้งสิ้น 5,842 ไร่ 4) หมู่ที่ 4 บ้านเม็กใหญ่ พื้นที่ทั้งสิ้น 2,350 ไร่ 5) หมู่ที่ 5 บ้านโนนสวรรค์ พื้นที่ทั้งสิ้น 6,150 ไร่ 6) หมู่ที่ 6 บ้านหลุบเลา พื้นที่ทั้งสิ้น 4,971 ไร่ 7) หมู่ที่ 7 บ้านเม็กน้อย พื้นที่ทั้งสิ้น 4,150 ไร่ 8) หมู่ที่ 8 บ้านโนนสุขสันต์ พื้นที่ทั้งสิ้น 5,177 ไร่ 9) หมู่ที่ 9 บ้านบัวเทียม พื้นที่ทั้งสิ้น 1,850 ไร่ 10) หมู่ที่ 10 บ้านโนนใหญ่ พื้นที่ทั้งสิ้น 2,450 ไร่ 11) หมู่ที่ 11 บ้านคำสำราญ พื้นที่ทั้งสิ้น 1,597 ไร่ 12) หมู่ที่ 12 บ้านโนนคำกลาง พื้นที่ทั้งสิ้น 1,709 ไร่ 13) หมู่ที่ 13 บ้านหมากมาย พื้นที่ทั้งสิ้น 3,202 ไร่ 14) หมู่ที่ 14 บ้านบก พื้นที่ทั้งสิ้น 2,650 ไร่ 15) หมู่ที่ 15 บ้านกลาง พื้นที่ทั้งสิ้น 3,050 ไร่ 16) หมู่ที่ 16 บ้านเม็กน้อย พื้นที่ทั้งสิ้น 5,722 ไร่ 17) หมู่ที่ 17 บ้านหมากมาย พื้นที่ทั้งสิ้น 2,853 ไร่ 18) หมู่ที่ 18 บ้านเม็กใหญ่ พื้นที่ทั้งสิ้น 1,952 ไร่ 1.3 อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลเมืองเดช และตำบลโพนงาม อำเภอเดชอุดม ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอนาจะหลวย ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลบัวงาม อำเภอเดชอุดม ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลตบหู ตำบลโนนสมบูรณ์ และตำบลท่าโพธิ์ศรี 1.4 ลักษณะภูมิประเทศ สภาพพื้นที่ลักษณะทั่วไปของเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกลาง มีลักษณะภูมิประเทศทางกายภาพเป็นที่ราบสูง มีแหล่งน้ำไหลผ่าน สภาพดินเป็นดินปนทราย และดินเหนียวไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ทรัพยากรที่มีอยู่ในตำบลมีน้อยยังไม่สามารถนำไปเป็นผลผลิตและทำให้เกิดรายได้แก่ประชาชนได้ 1.5 ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ฤดูฝน ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม ฤดูหนาว ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม 1.6 ที่ดินและการใช้ประโยชน์ - พื้นที่ทำนา 46,990 ไร่ - พื้นที่ทำไร่ 3,275 ไร่ - พื้นที่สวน 847 ไร่ - พื้นที่พืชผัก 180 ไร่ - อื่น ๆ 4,033 ไร่ 2. ด้านการเมือง การปกครอง แบ่งเขตการปกครองตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 แบ่งเป็น 18 หมู่บ้าน ประชากรรวม 14,472 คน แยกเป็น ชาย 7,281 คน หญิง 7,191 คน (ข้อมูลสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง พ.ศ. 2565) ณ เดือน กันยายน 2565 หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร รวม ชาย หญิง 1 บ้านกลาง 666 568 609 1,177 2 บ้านบก 292 331 342 673 3 บ้านหมากมาย 481 539 509 1,048 4 บ้านเม็กใหญ่ 317 404 418 822 5 บ้านโนนสวรรค์ 505 554 551 1,105 6 บ้านหลุบเลา 304 369 373 742 7 บ้านเม็กน้อย 281 344 332 676 8 บ้านโนนสุขสันต์ 575 557 580 1,137 9 บ้านบัวเทียม 315 434 433 867 10 บ้านโนนใหญ่ 252 314 292 606 11 บ้านคำสำราญ 150 239 206 445 12 บ้านโนนคำกลาง 199 254 247 501 13 บ้านหมากมาย 298 337 280 617 14 บ้านบก 385 439 446 885 15 บ้านกลาง 349 447 415 862 16 บ้านเม็กน้อย 403 514 510 1,024 17 บ้านหมากมาย 289 419 413 832 18 บ้านเม็กใหญ่ 208 218 235 453 รวม 6,269 7,281 7,191 14,472 2.3. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2.3.1 ไฟฟ้า จำนวนครัวเรือนในตำบลทั้งหมด 6,269 ครัวเรือน มีไฟฟ้าใช้ 6,269 ครัวเรือน 2.3.2 ประปา มีประปาใช้ 6,269 ครัวเรือน ไม่มีประปาใช้ - ครัวเรือน 2.3.3 โทรศัพท์ มีชุมสายโทรศัพท์ 18 แห่ง 2.3.4 การคมนาคม ทางบก การคมนาคมติดต่อระหว่างตำบล อำเภอและจังหวัด รวมทั้งการคมนาคมภายในตำบลและหมู่บ้าน 2.3.5 แหล่งน้ำ ลำห้วย จำนวน 3 แห่ง หนอง จำนวน 24 แห่ง ฝายกั้นน้ำ จำนวน 9 แห่ง บ่อน้ำบาดาล จำนวน 184 บ่อ บ่อน้ำตื้น จำนวน - บ่อ สระน้ำ จำนวน - แห่ง ประปาหมู่บ้าน จำนวน 18 แห่ง 2.4. ด้านเศรษฐกิจ 2.4.1 การเกษตร 1) อาชีพหลัก ได้แก่ 1. ทำนา ประมาณร้อยละ 99 2. อื่น ๆ ประมาณร้อยละ 1 2) พืชเศรษฐกิจ 1. ข้าว 2. ยางพารา 3. มันสำปะหลัง 3) สัตว์เศรษฐกิจ คือ โค, กระบือ, สุกร 4) อุตสาหกรรม ไม่มี 5) สหกรณ์มีจำนวน 1 แห่ง 2.5. การศึกษา จำนวนสถานศึกษาในสังกัดต่าง ๆ 1. โรงเรียนบ้านกลาง 2. โรงเรียนบ้านหมากมาย 3. โรงเรียนบ้านบัวเทียม 4. โรงเรียนบ้านเม็กใหญ่ 5. โรงเรียนดำรงสินสงเคราะห์ 6. โรงเรียนบ้านโนนสวรรค์ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมี 7 แห่ง และโรงเรียนอนุบาลกลาง 1 ประกอบด้วย 1. บ้านกลาง มีเด็กที่อยู่ในความดูแลจำนวน 70 คน 2. บ้านโนนสุขสันต์ มีเด็กที่อยู่ในความดูแลจำนวน 40 คน 3. บ้านหมากมาย มีเด็กที่อยู่ในความดูแลจำนวน 45 คน 4. บ้านโนนใหญ่ มีเด็กที่อยู่ในความดูแลจำนวน 40 คน 5. ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ (วัดบ้านโนนสวรรค์) มีเด็กที่อยู่ในความดูแลจำนวน 70 คน 6. บ้านเม็กน้อย มีเด็กที่อยู่ในความดูแลจำนวน 40 คน 7. บ้านเม็กใหญ่ มีเด็กที่อยู่ในความดูแลจำนวน 26 คน 8. โรงเรียนอนุบาล อบต.กลาง 1 จำนวน 63 คน ห้องสมุดประชาชน จำนวน 6 แห่ง ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน จำนวน 18 แห่ง วารสารประจำหมู่บ้าน จำนวน 18 แห่ง วัดภายในตำบล จำนวน 14 แห่ง สำนักสงฆ์ภายในตำบล จำนวน 6 แห่ง 2.6. สาธารณสุข จำนวน 2 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกลาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเม็กน้อย 2.7. การรักษาความสงบเรียบร้อย สถานีตำรวจชุมชนตำบลกลาง จำนวน 2 นาย อปพร. จำนวน 242 คน 2.8. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - ทรัพยากรดิน ที่ดินมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ใน เขต สปก. 4-01 - แหล่งน้ำธรรมชาติ สภาพพื้นที่เป็นที่ราบอุดมไปด้วยป่าไม้ ก่อให้เกิดลำน้ำธรรมชาติ ไหลผ่านที่สำคัญได้แก่ลำโดมน้อยไหลลงเขื่อนสิรินธร แหล่งน้ำ มีดังนี้ ลำห้วย จำนวน 3 แห่ง หนอง จำนวน 24 แห่ง - ทรัพยากรป่าไม้ มีพื้นที่ป่าไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ป่าชุมชนหมู่บ้านต่าง ๆ 2.11 ผลการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลในปีที่ผ่านมา ในการพัฒนาท้องถิ่นที่ผ่านมา องค์การบริหารส่วนตำบลกลาง ได้ใช้แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลตำบลเป็นกรอบในการกำหนดทิศทางการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งแผนดังกล่าว มาจากความต้องการของประชาชนโดยวิธีการจัดทำประชาคม (Civil Society) ในชุมชน ทั้งในรูปแบบของประชาคมหมู่บ้าน ประชาคมตำบล ประกอบกับงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลมีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งสามารถดำเนินการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและสนองตอบความต้องการของประชาชนในชุมชนท้องถิ่นได้ในระดับหนึ่ง การพัฒนาตำบล ขององค์การบริหารส่วนตำบลกลาง ในแผนพัฒนาที่ผ่านมาได้ดำเนินงานในการพัฒนาไปแล้วทั้งสิ้น จำนวน 6 ด้าน ซึ่งมีผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ ดังนี้ 2.11.1 การดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ อาชีพ - ส่งเสริมการกระจายรายได้และสร้างอาชีพให้ประชาชนมีงานทำและมีรายได้มากขึ้น - พัฒนากลุ่มอาชีพต่าง ๆ และผู้ด้อยโอกาสทางสังคมให้มีความสามารถในการบริหารการจัดการการผลิต และการจำหน่าย - พัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพ 2.11.2 การดำเนินงานด้านสังคม สาธารณสุข - ป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่อ และโรคติดต่อ - กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยการพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย, ใส่ทรายอะเบท - ป้องกันโรคติดต่อ โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม - สนับสนุนการศึกษาแก่เด็กในท้องถิ่นได้มีความรู้ และทัดเทียมทางการศึกษา - สนับสนุนสถานศึกษาเพื่อพัฒนางานด้านการศึกษาให้กับนักเรียน - จัดหาอาหารกลางวันสำหรับเด็กนักเรียน เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ - จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน ชุดนักเรียน ให้กับนักเรียนที่ยากจน - ส่งเสริมให้ประชาชนมีความสนใจ มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น - จัดกิจกรรมเพื่อเป็นการอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น อันได้แก่ งานสงกรานต์, งานประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ยาเสพติด - ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด - จัดการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของยาเสพติด - จัดสร้างสนามกีฬาต้านยาเสพติดประจำหมู่บ้าน - จัดหาอุปกรณ์กีฬาให้กับเยาวชนเพื่อการออกกำลังกาย - จัดการแข่งขันกีฬาต้านยาเสพติด การสงเคราะห์คนยากจน คนพิการ เด็ก และผู้สูงอายุ - ให้การสงเคราะห์ ช่วยเหลือ คนยากจน คนพิการ เด็กและผู้สูงอายุ ครอบครัวผู้ป่วยโรคเอดส์ - ให้เบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุ - ให้การสงเคราะห์แก่คนยากจน ผู้ยากไร้ ด้วยการจัดหาเครื่องนุ่งห่ม, ยารักษาโรค ฯลฯ - ให้การช่วยเหลือผู้ประสบกับภัยทางธรรมชาติ อุทกภัย วาตภัย ภัยหนาว ด้วยการจัดหาเครื่อง อุปโภค/บริโภค ถุงยังชีพ ฯลฯ 2.11.3 การดำเนินงานด้านโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม ดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาเส้นทางคมนาคมให้ประชาชนสามารถสัญจรผ่านไป-มาได้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากขึ้น - ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก - ปรับปรุงและพัฒนาถนนให้มีสภาพผิวจราจรที่มีความมั่นคงแข็งแรงและกว้างมากขึ้น - ก่อสร้างถนนลูกรัง ที่มีความจำเป็นเร่งด่วน และเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน - ปรับปรุงซ่อมแซมถนนเพื่อการเกษตร ไฟฟ้าสาธารณะ ดำเนินการจัดให้มีไฟฟ้าสาธารณะ ภายในหมู่บ้านเพื่อทำให้เกิดแสงสว่างและสะดวกในการสัญจร และเป็นการลดอุบัติเหตุ ลดปัญหาอาชญากรรม รวมถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน - ติดตั้งซ่อมแซมไฟฟ้าสาธารณะในพื้นที่หมู่บ้าน การระบายน้ำ ดำเนินการจัดให้มีระบบการระบายน้ำที่ได้มาตรฐาน และเชื่อมโยงถึงกัน พร้อมทั้งระบายน้ำลงไปสู่แหล่งน้ำเพื่อใช้ในการทำการเกษตรต่อไป - ก่อสร้างรางระบายน้ำ - ขุดลอกรางระบายน้ำ - ซ่อมแซมรางระบายน้ำ,คลองส่งน้ำ 2.11.4. การดำเนินงานด้านแหล่งน้ำ แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค/บริโภคและน้ำเพื่อการเกษตร ดำเนินการจัดให้มีประปาหมู่บ้านครอบคลุมทุกหมู่บ้าน พร้อมทั้งพัฒนาระบบประปาให้แรงดันของน้ำไหลแรงได้มาตรฐานพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่สาธารณะประโยชน์ และดำเนินการขุดคลองส่งน้ำเพื่อการเกษตรอย่างเป็นระบบ สามารถส่งน้ำเพื่อการเกษตรไปได้ครอบคลุมทั่วถึงทุกหมู่บ้าน/ตำบล - ซ่อมบำรุงระบบประปาหมู่บ้าน - ขุดสระน้ำเพื่อการเกษตร - ขุดลอกคลอง,หนองน้ำต่างๆ 2.11.5 การดำเนินงานด้านการเมือง การบริหาร การพัฒนาบุคลากร ดำเนินการยกระดับความรู้ ความสามารถให้สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น พนักงานส่วนท้องถิ่น และลูกจ้าง ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ - อบรมให้ความรู้ในระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน - ฝึกอบรม ศึกษา ดูงาน ทัศนะศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น การพัฒนารายได้ ดำเนินการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีที่เกี่ยวข้องภายในตำบลให้ทั่วถึง และครอบคลุมทุกหมู่บ้าน - จัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน - ประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ การจัดหาและปรับปรุงเครื่องมือ เครื่องใช้และสถานที่ปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ - จัดหาคอมพิวเตอร์, โทรศัพท์, โทรสาร - ก่อสร้างห้องประชุมสัมมนา, ปรับปรุงศาลากลางบ้าน - จัดทำป้ายบอกสถานที่, บอร์ดประชาสัมพันธ์ 2.11.6 การดำเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์แหล่งน้ำและป่าไม้ ดำเนินการอนุรักษ์และรักษาทรัพยากรป่าไม้ แหล่งน้ำ สร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนให้มีความหวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - ฝึกอบรมการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - การปลูกป่าในที่สาธารณะ และการปลูกป่าทดแทน - การจัดทำป่าชุมชน - กำหนดแนวเขตที่สาธารณประโยชน์